แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA Version 4
AUN QA คืออะไร
AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network: AUN) เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิก สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเชียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายเป็น 27 สถาบัน ตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ประสงค์ในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการเสริมความเข้มแข็งของเครือข่าย มหาวิทยาลัยและ สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง AUN คือ
1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักปราชญ์นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิชาการและอาชีพในภูมิภาค
3. ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศระหว่างชุมชนนักวิชาการอาเซียนกิจกรรมหนึ่งของ AUN คือ เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUN QA) AUNQA ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการประกัน คุณภาพ และมาตรฐานอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ระบบการประกัน คุณภาพของ AUN QA ประกอบด้วย 3 มิติคือ
1) Strategic เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา
2) Systemic เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน
3) Tactical เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร
รูปแบบการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนโดย พิจารณาคุณภาพภายใน 3 มิติคือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ โดยมีรูปแบบเริ่มจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะให้เกิดกับตัวผู้เรียน การแปลงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปสู่โปรแกรมการศึกษาและวิธี ที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพ ระดับโปรแกรมการศึกษาของ AUN QA ใช้ระบบการประเมินจากคะแนนเต็ม 7 ในลักษณะ Rating scale ประกอบด้วยเกณฑ์8 เกณฑ์แต่ละเกณฑ์ยังประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาย่อย ๆ ลงไปอีก เกณฑ์หลักใน การประเมินคุณภาพ มีดังนี้
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Expected Learning Outcomes
2. โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา (Programme Structure and Content)
3. แนวทางการจัดเรียนการสอน (Teaching and Learning Approach)
4. การประเมินผู้เรียน (Student Assessment)
5. คุณภาพของบุคลากรสายวิชาการ (Academic Staff)
6. การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน (Student Support Services)
7. สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure)
8. ผลผลิตและผลลัพธ์(Output and Outcomes)
กระบวนการดำเนินงานด้านต่างๆ สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
-กระบวนการดำเนินการฝึกงานภาคฤดูร้อน